Posted by admin on กันยายน 14, 2011

อาสามา (ฟื้นฟู) แม่สามแลบ

อาสามา (ฟื้นฟู)  แม่สามแลบ
โครงการครูบ้านนอก
ณ  บ้านแม่สามแลบ  ตำบลสบเมย  อำเภสบเมย  จังหวัดแม่ฮ่องสอน

ระหว่างวันที่
29  กันยายน  – 2  ตุลาคม  2554

      

วันที่พฤหัสบดีที่   29  กันยายน 2554

08.00 น.  รับอาสาสมัครที่ขนส่งแม่สะเรียง   จังหวัดแม่ฮ่องสอน  เพื่อเดินทางไปไปศูนย์พัฒนาเครือข่ายเด็กและชุมชน  ตำบลสบเมย    ปฐมนิเทศน์ เตรียมความพร้อมอาสาสมัครที่เข้าร่วมกิจกรรมก่อนเข้าพื้นที่

12.00 น. รับประทานอาหารกลางวันที่ศูนย์พัฒนาเครือข่ายฯ

13.00 น. เตรียมตัวเดินทางเข้าหมู่บ้าน (ในส่วนของหมู่บ้านทางโครงการจะแจ้งให้ทราบทาง E-Mail อีกครั้งหนึ่งค่ะ)  ใช้เวลาเดินทางประมาณ 2 ชั่วโมงในการเดินทางเข้าพื้นที่แม่สามแลบ  ตำบลสบเมย   จังหวัดแม่ฮ่องสอน

15.00 น.  ถึงพื้นที่อาสาสมัครเข้าบ้านพัก เราจะพักบ้านเด็ก ๆ ในชุมชนที่เราเข้าไปทำกิจกรรม หลังละ 2 คน  พักแยกชาย – หญิงนะค่ะ  อาสาสมัครทำความรู้จักเจ้าของบ้านและเตรียมลงมือทำอาหารเย็นทานได้เลยค่ะ

19.00 น.  อาสาสมัครรวมตัวกันที่ลานหมู่บ้านเพื่อทำกิจกรรมสันทนาการกับเด็ก ๆ และร่วมเวทีวิถีชุมชน จากผู้นำชุมชนหมู่บ้านนั้น ๆ

20.30 น.สรุปกิจกรรมของวันนี้   และเตรียมงานสำหรับวันพรุ่งนี้

 

วันที่ศุกร์ที่  30  กันยายน  2554

อาสาสมัครตื่นเช้า มาสัมผัสอากาศบนดอย แห่งเมือง 3 หมอกที่อบอวลท่ามกลางขุนเขาในหมู่บ้าน  อย่าลืมเตรียมทำอาหารเช้าและทานข้าวเช้าก่อนเริ่มกิจกรรมนะค่ะ เดี๋ยวจะหมดแรงตอนสายเพราะสู้พลังเด็กไม่ไหว  มื้อเช้า และ มื้อเย็น  อาสาสมัครต้องลงมือทำอาหารทานเองนะค่ะ

08.00 น.  เจอกันที่ลานหมู่บ้านเราจะแบ่งกิจกรรมสำหรับวันนี้เป็น 2 กิจกรรม

  • ·        กิจกรรมฟื้นฟูจิตใจ เราจะเน้นกลุ่มเด็กเป็นหลัก (สันทนาการ / เกม / เพลง / ศิลปะ ฯ)
  • ·        กิจกรรมซ่อมแซม(หมู่บ้าน / โรงเรียน / ชุมชน)

12.00  น.  รับประทานอาหารเที่ยงร่วมกัน (มื้อนี้ใจดีมีคนทำให้)

13.00  น.  เริ่มกิจกรรมช่วงบ่าย

16.00   น.  เสร็จกิจกรรม อาสาสมัครแยกย้ายพักผ่อนเตรียมทำอาหารเย็นของวันนี้  และอย่าลืมเรียนรู้วิถีชุมชนนะค่ะ  มันแตกต่างกันมากกับสังคมที่เราอยู่  แล้วจะรู้ว่าคนบนดอยมีอะไรให้น่าค้นหาอีกมากมายค่ะ

19.00 น.   กิจกรรมสันทนาการ

20.30  น.  สรุปกิจกรรมเตรียมงานวันพรุ่งนี้

 

 วันเสาร์ที่ 1  ตุลาคม  2554

อาสาสมัครตื่นเช้า มาสัมผัสอากาศบนดอย แห่งเมือง 3 หมอกที่อบอวลท่ามกลางขุนเขาในหมู่บ้าน  อย่าลืมเตรียมทำอาหารเช้าและทานข้าวเช้าก่อนเริ่มกิจกรรมนะค่ะ เดี๋ยวจะหมดแรงตอนสายเพราะสู้พลังเด็กไม่ไหว  มื้อเช้า และ มื้อเย็น  อาสาสมัครต้องลงมือทำอาหารทานเองนะค่ะ

08.00 น.  เจอกันที่ลานหมู่บ้านเราจะแบ่งกิจกรรมสำหรับวันนี้เป็น 2 กิจกรรมเช่นเดิม

  • ·        กิจกรรมฟื้นฟูจิตใจ เราจะเน้นกลุ่มเด็กเป็นหลัก (สันทนาการ / เกม / เพลง / ศิลปะ ฯ)
  • ·        กิจกรรมซ่อมแซม(หมู่บ้าน / โรงเรียน / ชุมชน)

12.00  น.  รับประทานอาหารเที่ยงร่วมกัน (มื้อนี้ใจดีมีคนทำให้)

13.00  น.  เริ่มกิจกรรมช่วงบ่าย

16.00   น.  เสร็จกิจกรรม อาสาสมัครแยกย้ายพักผ่อนเตรียมทำอาหารเย็นของวันนี้  และอย่าลืมเรียนรู้วิถีชุมชนนะค่ะ  มันแตกต่างกันมากกับสังคมที่เราอยู่  แล้วจะรู้ว่าคนบนดอยมีอะไรให้น่าค้นหาอีกมากมายค่ะ

19.00 น.   กิจกรรมสันทนาการระหว่างอาสาสมัครและเด็ก ๆ ในชุมชน

20.30  น.  สรุปกิจกรรมเตรียมงานวันพรุ่งนี้

 วันอาทิตย์ที่  2  ตุลาคม 2554

 

ตื่นเช้า มาสัมผัสอากาศบนดอยอีกหนึ่งวัน ก่อนเดินทางกลับในช่วงบ่าย  อย่าลืมสูดอากาศบริสุทธิ์ให้เต็มปอดเพื่อกิจกรรมช่วงเช้าของวันนี้นะค่ะ  ที่สำคัญอย่าลืมเตรียมทำอาหารเช้าและทานข้าวเช้าก่อนเริ่มกิจกรรม เดี๋ยวจะหมดแรงเพราะสู้พลังเด็กไม่ไหว

08.00 น.  เจอกันที่ลานหมู่บ้านเราจะแบ่งกิจกรรมสำหรับวันนี้เป็น 2 กิจกรรม  เฉกเช่นเมื่อวานค่ะ  วันนี้เราจะต่อยอดจากกิจกรรมเมื่อวานที่ยังไม่เสร็จลุล่วง  และสานต่อวันนี้ให้เสร็จ  ก่อนที่เราเหล่าอาสาสมัครจะล่ำลาเด็ก ๆ และชาวบ้านในชุมชนกลับสู่เมืองหลวง

  • ·        กิจกรรมการเรียนการสอน
  • ·        กิจกรรมฟื้นฟู และซ่อมแซม
12.00 น.  รับประทานอาหารเที่ยงร่วมกัน (มื้อนี้ใจดีมีคนทำให้)

13.00  น.  อาสาสมัครเก็บสัมภาระ ขึ้นรถ และล่ำลาเด็ก ๆ และชุมชนก่อนออกเดินทางจากหมู่บ้าน มุ่งหน้าสู่  ลำน้ำสาละวิน เพื่อชมวิถีความเป็นอยู่ของคนลุ่มน้ำนี้    จากนั้นออกเดินทางต่อไปที่ศูนย์พัฒนาเครือข่ายเด็กและชุมชน  เพื่อทำการสรุปกิจกรรมที่เราดำเนินมาร่วมกัน

17.00 น.  ออกเดินทางจากศูนย์พัฒนา ฯ เข้าสู่อำเภอแม่สะเรียงเพื่อส่งอาสาสมัครที่ขนส่งแม่สะเรียง โดยสวัสดิภาพ

หมายเหตุ  1….รบกวนอาสาสมัครจองตั๋วเดินทางไปกลับเลยนะค่ะ กรุงเทพ-แม่สะเรียง -กรุงเทพ  เที่ยวกลับรบกวนจองเวลา  19.00 น. หรือ 19.30 น. เพื่อความสะดวกในการจัดส่งอาสาสมัครและระยะเวลาที่เหมาะสมในการทำกิจกรรมค่ะ

หมายเหตุ  2….กำหนดการอาจมีการเปลี่ยนแปลงโดยมิต้องแจ้งให้ทราบ  ตามสถานการณ์และสภาพแวดล้อม

สามารถโอนเงินยืนยันได้เลยที่….   บัญชี “โครงการครูอาสา ” ธนาคารกรุงไทย สาขาห้าแยกพ่อขุนเม็งราย   เลขที่บัญชี 539-1-33371-7 บัญชีออมทรัพย์  จำนวน  1,500  บาท   ( สำหรับค่าอาหารตลอดโปรแกรม / ค่าเดินทางเข้าพื้นที่  โดยไม่รวมค่าเดินทางของอาสาสมัครไป – กลับแม่สะเรียง จ.แม่ฮ่องสอน)

 

สิ่งที่อาสาสมัครสามารถเตรียมมาสำหรับร่วมกิจกรรม

  1. สื่อการเรียนการสอน  อุปกรณ์การเรียน
  2. อุปกรณ์กีฬา
  3. ขนม ต่าง ๆ  (ที่มีประโยชน์กับเด็กด้วยนะค่ะ  เราไม่เน้นขนมขยะค่ะ)   นม
  4. เสื้อกันหนาวสำหรับเด็ก ๆ และผู้ใหญ่  เพราะใกล้หน้าหนาวแล้ว  ผ้าห่ม  สำหรับบ้านที่เราเข้าพัก
  5. ทุนอาหารกลางวัน  ทุนซ่อมแซมพื้นที่ประสพภัย

ของใช้ส่วนตัวที่อาสาสมัครต้องเตรียมมา

  • ไฟฉาย   เทียนไข
  • ยากันยุง  ยากันแมลง  ในปริมาณที่เพียงพอสำหรับระยะเวลาที่ทำกิจกรรม
  • ผ้าถุง  – ผ้าขะม้า  สำหรับอาบน้ำทั้งกลางแจ้งและในห้องน้ำ (แบบโอเพ่นแอร์)

 

กฎการวางตัว / ข้อห้าม / คำเตือน

  • ห้ามให้เบอร์โทรศัพท์แก่นักเรียนเป็นเด็ดขาด
  • ห้ามพูดคำหยาบ
  •  คนที่มาเป็นคู่รบกวนเรื่องการวางตัวที่เหมาะสม  ไม่ประพฤติตัวที่เกินเลยจนดูน่าเกลียด  เพราะเราเข้าพื้นที่ในฐานะ  อาสาสมัครที่ต้องคำนึงเสมอว่า เด็ก ๆ จะมองเราและเอามาเป็นตัวอย่าง
  • ของมีค่าควรเก็บไว้กับตัวเองตลอดเวลา
  • การใช้เครื่องมือสื่อสาร  รบกวนให้ทางคณะครูบ้านนอกใช้เครื่องมือสื่อสารหลังเสร็จกิจกรรม
  • ห้ามให้เงินแก่เด็ก  และชาวบ้านเด็ดขาดไม่ว่ากรณีใด
  • งดเว้นการดื่มสุรา  และของมึนเมาทุกชนิดในชุมชน
  • ห้ามออกนอกพื้นที่โดยเด็ดขาด โดยมิได้แจ้งให้เจ้าหน้าที่ประจำโครงการทราบทุกครั้ง

 ข้อแนะนำเตรียมการก่อนสอนและการเข้าพื้นที่

  • ·        การทำกิจกรรมในครั้งนี้เราเน้นในส่วนของกิจกรรมฟื้นฟู  สร้างขวัญและกำลังใจให้คนในพื้นที่ประสพภัย ไม่ว่าจะเป็นเด็ก  ครูประจำการในพื้นที่  ชาวบ้าน
  • ·        การเรียนการสอนในชุมชน  เด็ก ๆ  จะคละกันตั้งแต่ก่อนวัยเรียนจนถึงวัยรุ่น  บาง ครั้งอาจมี พ่อ แม่ของเด็กมาเรียนด้วยครูเตรียมการสอนสำหรับเด็กทุกวัยมาได้เลย และการสอนเราจะมาสอนเป็นกลุ่มกับผู้ที่มาร่วมโครงการท่านอื่น ๆ ค่ะ
  • ·        สำหรับการเรียนการสอนในโรงเรียน  เด็ก ๆ ที่เราเข้าสอนจะสอนในระดับชั้น ป.4ม.3  ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับจำนวนอาสาสมัครที่เข้าร่วมโครงการด้วยนะค่ะ  ทางโครงการจะประเมินจำนวนชั้นเรียนอีกครั้งในวันที่มาถึง  ส่วนการสอนในชั้นเรียน  การ เรียนการสอนแบบประยุกต์ไม่จำเป็นต้องตามแผนการเรียนโดยตรง เพราะเราจะเข้าไปสอนแบบสอนเสริมทักษะความรู้เพิ่มเติมจากที่เด็กเรียนในชั้น เรียน
  • ·        การสอนในห้องเรียนแต่ละชั้นเรียน ความรู้เด็กในชั้นจะไม่เท่าเทียมกัน  จะมีทั้งเด็กที่อยู่ในเกณฑ์การเรียนดี   และเกณฑ์การเรียนที่ค่อนข้างต่ำคละกันไปในแต่ละชั้นเรียน
  • ·        สำหรับการสอนในชั้น ป.6 และ ม. 3 การเรียนการสอนควรจะมีส่วนในการแนะแนวการศึกษาต่อสำหรับเด็ก 2 ช่วงการศึกษานี้
  • ·        เด็ก ๆ  ที่เราเข้าสอนจะเป็นเด็กชนเผ่าซึ่งเด็ก  ๆ จะพูด และเขียนภาษาไทยไม่ชำนาญเหมือนเด็กในเมือง  ครูสามารถเน้นเรื่องนี้ได้เลยค่ะ
  • ·        อาสาสมัครต้องเป็นคนที่กินง่าย อยู่ง่าย ไม่เรื่องมากในเรื่องพื้นฐานด้านการกิน อยู่
  • ·        หมู่บ้านที่เราเข้าไปบางหมู่บ้านไม่มีไฟฟ้าและสิ่งอำนวยความสะดวก  อาสาสมัครต้องเตรียมตัวเองให้พร้อมด้วยค่ะ  เช่นไฟฉาย เป็นต้น

เรา….เปิดรับอาสาสมัคร….ไม่จำกัดจำนวน 

เพราะเราเชื่อว่ากำลังกายและกำลังใจของคุณจะช่วยกันฟื้นฟูชุมชนผู้ประสพภัยให้ดีขึ้นได้ในเร็ววัน

 http://www.bannok.com/volunteer/volunteer_v_php/view_detail_content.php?id=1604

 สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ 

ครูจะเด็จ  

Mail.  jadadbannok@hotmail.com

โทร. 053-737412  ต่อ 19    หรือ   087-1833705

Comments are closed.